|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
มะฮัรในกฎหมายอิสลาม: สภาพและปัญหาการปฏิบัติใช้ของมุสลิม ตาบลลิดล อาเภอเมือง จังหวัดยะลา / Mahar In Islamic Law : States and Problems of Implementation for Muslims in Lidun Muang Yala |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1เพื่อศึกษาเกี่ยวกับมะฮัรในกฎหมายอิสลาม (2เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาที่เกี่ยวกับมะฮัรในการนำไปใช้ของมุสลิมในตำบลลิดล อำเภอเมือง จังหวัดยะลา (3เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาในการนำไปใช้ของมุสลิมในตำบลลิดล อำเภอเมือง จังหวัดยะลา<br />
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยภาคเอกสารและภาคสนาม เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ประกอบด้วยการสัมภาษณ์ครอบครัวที่มีบุตรสาวแต่งงานแล้วจำนวน20ครอบครัว และประกอบด้วยคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ประเด็นสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างครอบครัวที่มีบุตรสาวแต่งงานแล้ว และเจาะลึกเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการนำไปใช้ของมุสลิม และหาแนวทางแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับมะฮัรในการนำไปใช้ของมุสลิมในตำบลลิดล อำเภอเมือง จังหวัดยะลา<br />
ผลการวิจัยพบว่า<br />
1.ในการสมรสนั้น อิสลามได้บัญญัติมะฮัร เพื่อเป็นการเปิดเผยความต้องการอย่างจริงใจของผู้ชายที่ประสงค์จะอยู่ร่วมเป็นสามีภรรยากับผู้หญิง และดำเนินตามหลักการใช้ชีวิตคู่อย่างสมเกียรติ มะฮัรในกฎหมายอิสลาม คือ ทรัพย์สินเงินทองหรือคุณประโยชน์อื่นๆที่ฝ่ายชายต้องมอบให้ฝ่ายหญิง เนื่องจากการสมรส ดั่งปรากฏในอัลกุรอาน ความว่า ?และพวกเจ้าจงให้ทรัพย์มะฮัรแก่บรรดาหญิง ด้วยความเต็มใจ? <br />
2.สภาพและปัญหาที่เกี่ยวกับมะฮัรในการนำไปใช้ของมุสลิม ในตำบลลิดล อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ผู้วิจัยพบว่าปัญหาหรือสภาพปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดค่ามะฮัร ของมุสลิมในตำบลลิดล อำเภอเมือง จังหวัดยะลา สภาพความเป็นอยู่ของประชากรส่วนใหญ่จะอาศัยเป็นชุมชนกึ่งเมือง ประกอบอาชีพ ฐานะ และตำแหน่งทางสังคมที่หลากหลาย เช่น รับราชการ พนักงานบริษัท เกษตรกร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อิมามมัสยิด ตลอดจนนักการเมืองท้องถิ่น เป็นต้น ประชากรตำบลลิดล อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาที่หลากหลายเช่นกัน และหลายระดับ เช่น สำเร็จจากต่างประเทศ สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันการศึกษาปอเนาะ เป็นต้น อีกทั้งค่านิยมประชากรในพื้นที่ตำบลลิดล อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ยังมีการแข่งขันในลักษณะวัตถุนิยมค้อนข้างสูง<br />
3.แนวทางการแก้ปัญหาในการนำไปใช้ของมุสลิมในตำบลลิดล อำเภอเมือง จังหวัดยะลา พบว่าการแก้ปัญหาควรให้ผู้นำศาสนาในชุมชน ทั้งคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด อีม่าม เคาะฏีบ บีลาลจะต้องช่วยกันในเรื่องของการให้ความรู้ในเรื่องกับประชาชนในชุมชมให้มีความรู้ในเรื่องการกำหนดมะฮัรอย่างถ่องแท้ ว่าแท้จริงนั้นบทบัญญัติกฎหมายอิสลามส่งเสริมให้มีการเรียกมะฮัรในระดับน้อยๆนอกจากนี้ทางฝ่ายหญิงจะต้องมีการศึกษาบทบัญญัติเรื่องมะฮัรด้วย ตลอดจนทั้งสองฝ่ายน่าจะการตกลงเกี่ยวกับเรื่องการกำหนดมะฮัรกันก่อนแต่งงาน เพื่อที่จะไม่ให้ทั้งสองฝ่ายนั้นมีความผิดหวังในเรื่องของการแต่งงานและเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายนั้นดำเนินชีวิตคู่อย่างมีความสุขตลอดไปทั้งโลกนี้และโลกหน้า<br />
The objectives of this research h were 1) To study mahar in Islamic laws 2) To study states and problems of Implementation for muslims in Lidun Muang Jala 3) To study the solution to the problem of using Muslims in Lalun Muang d Yala <br />
<br />
This research was qualitative research including documents and filed study. The research instrument were Interview form including 20family with having daughters was married and including the question for interview The Issues for interview the sample group of them bout states and problems of implementation for muslims. Find solutions and problems related to the mahar<br />
<br />
The results found that <br />
<br />
1.mahar were money or other benefit which the male spouse provide to her due to married (nikah) as Allah say in the Al-quran: ?And give women (upon marriage) their bridal gifts graciously?<br />
<br />
2.That the concept of Mahar families in the lidun muang Jala state is different and not a motto with the correct Islamic perspective, since the extent of dependence on the social, financial and practical situation is contrary to the concept of mahar in Islam <br />
3. On the imams of the mosque and officials to call the Department State awareness of the community and the intensification of seminars to raise awareness of the community to the correct concept of the mahar and the risk of rising the amount of mahar on the community to prevail in the happiness between individuals And society<br />
|
|
ผู้ทำ/Author |
Name | มารีเยาะ สาระนะ | Organization | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
อิสลามศึกษา
|
|
Contributor: |
Name: |
อัสมัน แตอาลี |
Roles: |
อาจารย์ที่ปรึกษา |
|
|
Publisher: |
Name | : | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | Address | : | ปัตตานี (Pattani) |
|
|
Year: |
2561 |
|
Type: |
วิทยานิพนธ์/THESES |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
581 |
|
Counter Mobile: |
17 |
|