ชื่อเรื่อง/Title พฤติกรรมในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ศึกษากรณีเทศบาลเมืองปัตตานี / Behavior in exercising voting rights to elect municipal council members in the case of Pattani Municipality.
     บทคัดย่อ/Abstract <dd>การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเพื่อแสวงหาความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้น เกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในระดับท้องถิ่น โดยศึกษาเฉพาะพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเมืองปัตตานี ผลการวิจัยและข้อเสนอแนะจากการวิจัยสรุปสาระสำคัญได้เป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกเพื่อประโยชน์ในทางวิชาการเกี่ยวกับแบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นและส่วนที่สองเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของเทศบาล<br /> <dd>ส่วนแรกตัวแบบทฤษฎีพฤติกรรมทางการเมือง<br /> <dd>1.ความสัมพันธ์ของตัวแปรด้านการนับถือศาสนากับตัวแปรด้านระดับการศึกษา<br /> <dd>การศึกษาครั้งนี้พบว่า ตัวแปรภูมิหลังด้านการนับถือศาสนาของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อพฤติกรรมการเลือกตั้ง ทั้งการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เกณฑ์ที่ใช้ในการเลือกตั้งรวมทั้งการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง คือผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามมีแนวโน้มที่จะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งโดยอาศัยเกณฑ์ในแง่คุณสมบัติส่วนตัวของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส่วนผู้ที่นับถือศาสนาพุทธมีแนวโน้มที่จะเลือกผู้สมัครโดยดูที่นโยบาย ผลงานมากกว่า รวมทั้งผู้ที่นับถือศาสนาพุทธมีแนวโน้มได้รับข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้งมากกว่าผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม แต่เมื่อมาพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้านระดับการศึกษากับตัวแปรภูมิหลังด้านการนับถือศาสนาของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง กลับพบว่าคนส่วนใหญ่ในกลุ่มผู้ไม่มีการศึกษาและมีการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 เป็นผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรภูมิหลังด้านการนับถือศาสนากับแบบแผนพฤติกรรมการเลือกตั้งดังกล่าวข้างต้น จึงอาจจะเป็นการสะท้อนให้เห็นอิทธิพลของตัวแปรด้านระดับการศึกษา โดยผ่านตัวแปรภูมิหลังด้านการนับถือศาสนาอีกต่อหนึ่ง<br /> <dd>รูปแบบความสัมพันธ์อันซับซ้อนดังกล่าวจะเห็นได้ชัดเจนตามตัวแบบข้างล่างนี้<br /> <dd>นอกจากนี้ ในการศึกษาครั้งนี้ยังพบว่า การมองปัญหาในเขตเทศบาลของผู้นับถือศาสนาต่างกัน จะมีความแตกต่างกันทั้งประเภทและจำนวนของปัญหาคือผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะเห็นว่าปัญหาสำคัญในเขตเทศบาลคือ ปัญหาที่มีผลกระทบต่อความอยู่รอดและการดำรงชีวิตในเขตชุมชนเช่น ปัญหาสลัม ปัญหาน้ำเสีย ปัญหาขยะ รวมถึงปัญหายาเสพติด ส่วนปัญหาในความเห็นของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธเป็นปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต เช่น ปัญหาน้ำประปา ปัญหาการจราจร และปัญหาความสะอาด สรุปได้ว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรภูมิหลังทางด้านศานากับทัศนะคติที่มีต่อปัญหาในท้องถิ่น แต่เมื่อพิจารณาจากข้อมูลที่ทำการศึกษา�พบว่าตัวแปรทางด้านการนับถือศาสนากับรายได้มีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจน�คือผู้ที่นับถือศาสนาพุทธส่วนใหญ่จะมีรายได้สูง �ส่วนผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะมีรายได้ต่ำ <dd>ดังนั้นผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามส่วนใหญ่ซี่งจะเป็นผู้มีรายได้ต่ำ จึงมองปัญหาหรือต้องประสบกับปัญหามากกว่าผู้ที่นับถือศาสนาพุทธและเป็นปัญหาการดำรงชีวิตและความอยู่รอดในเขตชุมชนเมือง เช่น ปัญหาสลัมดังกล่าวมาแล้วข้างต้น�จึงเป็นการยืนยันให้เห็นอีกครั้งว่าตัวแปรภูมิหลังทางด้านศาสนาอาจจะเป็นตัวปแปรแทรกระหว่างสัมพันธ์ข้างต้น�ประเด็นนี้ควรจะมีการศึกษาต่อเนื่องเพื่อขยายผลให้เห็นอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น<br /> <dd>2.ระดับการศึกษากับการเป็นฐานนโยบาย<br /> <dd>การศึกษาครั้งนี้ ทำให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นของจังหวัดปัตตาสนีที่สอดคล้องกับทฤษฎีที่ว่า ผู้มีการศึกษาสูงมีแนวโน้มที่จะเลือกผู้สมัครโดยอาศัยเกณฑ์การดูที่นโยบายมากกว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่า ทั้งที่มีความเชื่อโดยทั่วไปว่าในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตัวแปรทางศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นมีความสำคัญที่สุดต่อทัศนคติและพฤติกรรมทางการเมืองแต่การศึกษาครั้งนี้กลับให้ข้อสรุปที่ได้มากจากข้อมูลเชิงประจักษ์ว่า ถึงแม้ศาสนาจะมีความสำคัญ แต่สิ่งที่อยู่เบื้องหลังซึ่งมีความสำคัญมากกว่าคือระดับการศึกษาและระดับรายได้ซึ่งส่งอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านตัวแปรทางศาสนา ทำให้บุคลมีทัศนคติและพฤติกรรมทางการเมืองต่างกัน<br /> <dd>ส่วนที่สอง ข้อสรุปเพื่อการบริหารงานของเทศบาล<br /> <dd>เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อชี้แให้เห็นถึงปัญหาสำคัญในเขตเทศบาล รวมทั้งทัศนคติของประชาชนต่อผลการดำเนินงานของเทศบาลในด้านต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลและแนวทางให้กับเทศบาลเมืองปัตตานีในการศึกษา การกำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหา และปรับปรุงการดำเนินงานของเทศบาลดังนี้<br /> <dd>1.ปัญหาสำคัญในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี การศึกษาครั้งนี้พบว่า ปัญหาน้ำประปา ปัญหายาเสพติด ปัญหาน้ำเสีย ปัญหาชุมชนแออัดและปัญหาทางเดินเท้า เป็นปัญหาสำคัญที่เทศบาลเมืองปัตตานีควรจะต้องเร่งดำเนินการศึกษาและหาแนวทางแก้ไขโดยเร่งด่วนต่อไป<br /> <dd>2.ส่วนทัศนคติของประชาชนต่อการดำเนินงานของเทศบาล จากการศึกษาพบว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามตำบลต่างๆเห็นว่าเทศบาลควรปรับปรุงด้านการจราจร(ร้อยละ99)น้ำประปา(ร้อยละ95.3)ความสะอาด(ร้อยละ94.4)ขยะ(ร้อยละ91.6)ถนน(ร้อยละ88.3)โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ตำบลสะบารัง

     ผู้ทำ/Author
Nameปิยะ กิจถาวร
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Nameชิดชนก ราฮิมมูลา
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
บทคัดย่อ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการเมืองการปกครอง
--การมีส่วนร่วมทางการเมือง
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2541
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 9625
     Counter Mobile: 31