ชื่อเรื่อง/Title การศึกษาความเป็นไปได้เพื่อพัฒนาลุ่มน้ำโก-ลก ตอนที่ 1 ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมของบุคคลและครัวเรือน / Feasibility study for the development of the Kolok River Basin, Part 1: Socio-economic information of individuals and households.
     บทคัดย่อ/Abstract การศึกษาครั้งนี้ เพื่อรวบรวมข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมของประชากรและชุมชนในบริเวณลุ่มน้ำโก-ลก เพื่อช่วยในโครงการวางแผนเพื่อพัฒนาลุ่มน้ำโก-ลก ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มรายได้และปรับปรุงสวัสดิการทางสังคมของประชากรในพื้นที่ให้ดีขึ้น ผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบ Comparison Group Ex Post Facto Study Design ประเภท Cross Soctional Design โดยเปรียบเทียบระหว่าง 3 กลุ่มอาชีพ คือ ชาวนา ชาวสวนยาง และกลุ่มอาชีพผสม ใช้กลุ่มตัวอย่างหัวหน้าครอบครัว จำนวน 450 ราย <br /> ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฎดังนี้<br /> กลุ่มตัวอย่างประมาณร้อยละ 20 มีสมาชิกในครัวเรือนออกไปทำงานนอกหมู่บ้าน ส่วนใหญ่ไปรับจ้างทำงานก่อสร้างที่ประเทศมาเลเซีย แต่ละปีออกไปทำงานมากกว่า 6 เดือน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีที่ดินเป็นของตนเอง ได้มาจากการรับมรดก รองลงมาเป็นการแบ่งตามหลักกฎหมายอิสลาม<br /> พื้นที่ปลูกข้าวของชาวบ้าน แต่ละครัวเรือน ต่ำกว่า 5 ไร่ ได้ข้าว 100-200 กิโลกรัมต่อปี และไม่มีการปลูกพืชซ้ำในพื้นที่เดียวกัน เนื้อที่ปลูกยาพาราของแต่ละครัวเรือน ประมาณ 5-10 ไร่ ได้ผลผลิตน้อยกว่า 5 กิโลกรัมต่อไร่ต่อวัน และนำยางแผ่นดิบขายให้พ่อค้าในเมือง<br /> แหล่งรายได้ของกลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษา ได้จากการขายสัตว์เลี้ยง การเกษตร ค่าจ้าง และค่าเช่า โดยรายได้ทางการเกษตร เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญที่สุด รายได้โดยเฉลี่ยของครัวเรือนกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ต่ำกว่า 15000 บาทต่อปี

Golok River Basic Feasibility Study is an exploratory study aiming at collecting information on the socio-economic characteristics for the Golok River Basin population to assist in the project planning for development. The aim for development is to raise incomes and inprove social welfare. For Part I: Houshold and Personal Socio-economic data, the researchers used Comparsion Group Ex post facto study Design ,Cross-sectional Design category .It compares among three professional grubs, namely, padi small holders, rubber small holders and mixed (padd-rubber) small holders. 450 household heads were selected as samplings . The analysis results as follow :-About 20% of the Sampling show household members going to work outside villeges-mostly as construction workers in Malaysia for 6 months each year. The Majority of the saplings own lands derived to them as heritage. The heritage divison was mostly equally done among the dividend shares. Next, it was divided according to the Islamic Law. Each household's padi land is less than 5 rais, obtaining 100-200 kilograms or rice per year, and no other cultivations on the same lands. Rubber plantation land of each household is about 5-10 rais, and obtains less than 5 kilograms per rai perday. The crude rubber sheets are sold to town merchants. Population's income sources are throught selling of domestic animals, wages, and agricultural products which stand the most important.
     ผู้ทำ/Author
Nameดลมนรรจน์ บากา
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Nameลัลนา ควันธรรม
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Nameมานพ จิตต์ภูษา
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
     เนื้อหา/Content
หน้าปก
คำนำ
บทคัดย่อ
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 ระเบียบวิธีวิจัย
บทที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูล (หน้า 41-80)
บทที่ 3 (หน้า81-110)
บทที่ 3 (หน้า 111-150)
บทที่ 3 (หน้า 151-194)
บทที่ 4 สรุปผลและข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--นโยบายและการพัฒนา
     Contributor:
Name: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Roles: สนับสนุนทุนการวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2527
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 3825
     Counter Mobile: 103